วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบน้ำหยดมันสำปะหลัง


@ ระบบน้ำหยดนั้น มีข้อดีอยู่มากมาย เช่น ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก ประหยัดน้ำ สามารถใช้ได้กับพืชและดินหลากหลายชนิด แม้ว่าในระบบน้ำหยดจะเข้ามาในประเทศไทยหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ระบบน้ำหยดพึ่งจะเข้ามามีบทบาทในวงการเกษตรเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปี สาเหตุสำคัญนอกจากเรื่องเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง และความยากในการออกแบบติดตั้งแล้ว ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือ ปริมาณน้ำต้นทุนในเมืองไทยที่มีปริมาณจำกัดมากกว่าในอดีต ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป การทำการเกษตรน้ำฝนจึงเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนมากในปัจจุบัน 

@ การออกแบบระบบน้ำหยดนั้น ไม่ได้ยากไปกว่าการออกแบบระบบสปริงเกลอร์เลย เพราะใช้หลักการแนวคิดเดียวกัน ต่างกันแค่ในส่วนของหัวจ่ายน้ำ หากผู้ออกแบบเข้าใจในหลักการของระบบสปริงเกลอร์แล้วก็สามารถทำระบบน้ำหยดได้โดยไม่ยาก 

@ บทความบทนี้ จะแนะนำการติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งผู้เขียน และทีมงานได้เป็นที่ปรึกษาให้กับรุ่นพี่ของผู้เขียนเอง คือ ดร.ฮิ ก่อนจะรวมกันกันได้เพราะ ดร.ฮิ มีความต้องการอยากจะติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลังจำนวน ๓๐ ไร่ และก็พยายามสืบค้นข้อมูลหาวิธรการออกแบบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จนท้ายที่สุดก็ใช้วิธีโทรศัพท์มาถามพรรคพวกซึ่งก็แนะนำมาที่ผู้เขียนและรุ่นน้อง ซึ่งก็รับงานเพราะเป็นพรรคพวกกันมา โดยจะช่วยในส่วนของการออกแบบและแนะนำการติดตั้งให้ เมื่อได้คอนเซปหรือแนวทางการออกแบบคร่าวๆแล้ว ก็มาวางแผนกันทำงาน โดย ดร.ฮิ ได้ดำเนินการขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้า จ้างช่างมาเจาะบาดาลไว้รอ (เจาะอย่างเดียว ปั๊มจะเอาลงกันเอง) เริ่มแรกจะติดตั้งก่อนจำนวน ๑๕ ไร่ เพราะอีก ๑๕ ไร่ยังขุดมันยังไม่ได้ขุดหลัง แต่ระบบที่ออกแบบออกแบบไว้ ๓๐ ไร่ จึงไม่มีปัญหาใดๆ เมื่อทุกอย่างพร้อมทางรุ่นน้องผู้เขียนก็ส่งแบบและรายการอุปกรณ์ไปให้ เพื่อจัดเตรียมซื้อของไว้รอ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ผู้เขียนและรุ่นน้องก็มุ่งหน้าไปสู่โคราชกันทันที เพราะมีเวลาทำงานแค่ ๒ วัน คือเสาร์อาทิตย์ กับพื้นที่ ๑๕ ไร่     

@ ข้อมูลทางเทคนิค
   - ปั๊ม Submersible ยี่ห้อ Pedrollo ขนาด ๑.๕ กิโลวัตต์ คิวออกแบบ ๖,๐๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง เฮดออกแบบ ๖๐ เมตร ,บ่อบาดาลลึก ๔๐ เมตร
    - ท่อเมนใช้ขนาด ๒ นิ้วเพื่อลดเฮดสูญเสียในท่อ ใช้ท่อยี่ห้อ ท่อน้ำไทย ชั้น ๘.๕
    - ท่อเอชดีพีอีที่ใช้ต่อกับปั๊ม ใช้ PN 10
    - เทปน้ำหยดยี่ห้อ Plastro ระยะรูหยด (Spacing) ๓๐ ซม. อัตราการหยด ๑ ลิตรต่อชั่วโมง ผลิตที่อิสราเอล ที่เลือกเทปยี่ห้อนี้เพราะสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ยาวกว่ายี่ห้ออื่นๆในท้องตลาด คือสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ประมาณ ๒๒๐ เมตร โดยที่ปริมาณน้ำที่หยดยังคงสม่ำเสมอ

*** ค่าลงทุนระบบมินิสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์ และน้ำหยด จะอยู่ที่ประมาณ ๖,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ นะครับ  


@  สิ่งสำคัญในการออกแบบระบบน้ำทุกครั้งคือ แนวทางการออกแบบหรือ  Concept Design  เพราะการออกแบบระบบน้ำนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแนวทางของผู้ใช้งาน ตัวอย่างในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำตามแนวทางของผู้ใช้งานที่ต้องการติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับมันสำปะหลังโดยใช้น้ำบาดาลเป็นน้ำต้นทุน และต้องการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ค่อนข้างดีโดยเฉพาะเทปน้ำหยดนั้นเลือกใช้ยี่ห้อ Plastro ที่มีข้อเด่นหลายประการโดยเฉพาะสามารถวางระยะต่อแถวได้ยาวเกิน ๒๐๐ เมตรและเป็นเทปน้ำหยดแบบแถบรูหยุดยาวตลอดช่วยให้การอุดตันนั้นยากกว่าแบบอื่นๆ 

@ ผู้เขียนเห็นว่าปัจจุบันเกษตรกรมีการลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับพืชไร่มากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรทั่วไป ระบบที่นำมาให้ดูนี้ไม่ได้ดีที่สุดเพราะผู้เขียนเองไม่มีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งขนาดนั้น แต่ผู้เขียนยึดแนวทางการออกแบบและทำงาน "ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด ขอให้เหมาะสมที่สุดก็เป็นพอ"

- ก่อนที่ผู้ออกแบบจะลงมือออกแบบ ผู้ออกแบบควรเขียนข้อมูลเบื้องต้นต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบด้วยทุกครั้ง 


- ผังขอบเขตพื้นที่


- แบบผังการออกแบบระบบ


- แบบชุดควบคุมหัวแปลง


- เข้าสู่การคำนวณ  

- การหาขนาดท่อ

- การหาเฮดสูญเสียในท่อส่งน้ำ


- การหารอบเวรในการเปิดให้น้ำ

- การหาเวลาในการเปิดให้น้ำ

- การคิดค่าไฟฟ้าในการใช้งานระบบ

- รูปการติดตั้งปั๊มบาดาล หย่อยลงไป ๓๕ เมตร 


- ประกอบชุดควบคุมหัวแปลง


- เจาะรูท่อ Sub-main เพื่อติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยด


- เครื่องมือเจาะครับ หัวเจาะหัวนี้ ๑,๐๐๐ กว่าบาท แพงไปครับ ใช้โฮลซอว์แทนก็ได้ครับ ถูกกว่าเยอะ


- เจาะแล้วก็ติดตั้งข้อต่อเลย


- แบ่งหน้าที่ดีๆ แป๊บเดียวชุดควบคุมหัวแปลงก็เสร็จเรียบร้อย


- เสร็จแล้วก็ยกไปประกอบได้


- ประกอบท่อเสร็จก็มาวางเทปน้ำหยดกัน ม้วนละ ๒,๒๐๐ เมตร ราคาเมตรละ ๓.๒ บาท


- ลากไปเลยให้สุดแปลง



- ชุดแรก ๑๕ แรก ชุดหลังอีก ๑๕ ไร่


- ติดตั้งเทปน้ำหยดได้


- ทดสอบดู ๑ โซนให้เจ้าของได้ชื่นใจ และเพื่อตรวจสอบว่าได้ตามที่ออกแบบให้หรือไม่ ที่เหลือเจ้าของแปลงวางต่อเอง



- แรงดันใช้งานระบบ เกือบ ๑.๙ บาร์ ใกล้เคียงกับที่ออกแบบมาก (ฟลุ๊คอีกแล้ว) แรงดันใช้งานระบบน้ำหยด ควรอยู่ที่ประมาณ ๑ - ๑.๕ บาร์ ถ้ามากกว่านี้ก็ใช้วาล์วลดแรงดันหรือวาล์วควบคุมแรงดันช่วยเท่านี้ก็สมบูรณ์แบบ


- ตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยการเช็คตะกอนที่กรองหลังจากลองเปิด การล้างกรองนี้แนะนำให้ทำบ่อยๆ ป้องกันตะกอนจับกันแน่นที่แผ่นกรอง


- ถ่ายรูปกับ ดร.ฮิ เจ้าของแปลงหน่อย  


- ทีมงานเฉพาะกิจ ทำทุกงานตั้งแต่งานสวนหย่อมถึงระบบน้ำเกษตร



@ บทความนี้จบกันเท่านี้ หวังว่าจะช่วยเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่สนใจได้ ข้อสำคัญของผู้ออกแบบระบบน้ำที่ดีคือ ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ และสามารถทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขที่มี ไม่จำเป็นต้องดีที่สุดขอให้ดีที่สุดก็พอ เพราะคำว่าพอเพียงของแต่ละคนไม่เท่ากัน

@ แปลงนี้รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งงานไฟฟ้า เจาะบ่อบาดาล จ้างที่ปรึกษา (เล็กน้อย) ค่าอุปกรณ์ใช้เกรดบีถึงเกรดเอ จนถึงติดตั้งระบบ รวมประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผลผลิตที่คาดไว้เบื้องต้นต้องการเพิ่มจากเดิมไร่ละประมาณ ๒-๓ ตัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถคืนทุนการลุงทุนได้ตั้งแต่ปีแรกหรืออย่างช้าไม่เกินปีที่ ๒ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคามันในแต่ละปีอีกด้วย


นายธราวุฒิ  ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๗ เมษายน ๒๕๕๕