วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเลือกใช้ปั๊มเพื่ออัดสปริงเกอร์

เรียนถามทุกๆท่านครับ คือผมกำลังจะวางระบบน้ำ อยากสอบถามว่าระหว่างปั๊มชัก 2 นิ้วมอเตอร์ 2แรง กับปั๊มหอยโข่ง 2นิ้ว 1.5แรง แบบไหนดีกว่ากัน รายละเอียดในการใช้งานคือ
1. มีต้นไม้จำนวน 8 แถวๆละ 35 ต้น คูณ 8 เท่ากับ 280 ต้น หรือ จำนวนหัวปริงเกอร์ 280 หัว
2. จะใช้หัวมินิสปริงเกอร์ ของซุปเปอร์โปรดัก รุ่นมินิD สีน้ำเงิน ให้น้ำ 60 ลิตรต่อชั่วโมง และผมกะจะให้แค่ 20ลิตรหรือ 20นาที ต่อครั้ง
3. แต่ละแถวมีความยาวประมาณ 80 เมตร
4. ลักษณะส่งน้ำในแนวราบ
5. แหล่งน้ำมาจากแทงค์น้ำบนดินต่อตรงเข้าปั๊มเลย ปั๊มไม่เสียแรงสูบ
6. ตั้งใจจะแบ่งการให้น้ำเป็นโซนทั้งหมด 4 โซนๆละ 70 ต้น หรือ 70 หัว
7. ผมไม่แน่ใจเรื่องกำลังของปั๊มแต่ละประเภท อันนี้แนะนำได้เลยครับ

หากได้แบบปั๊มที่เหมาะสมแล้ว อยากทราบเรื่องแปลนและขนาดของการเดินท่อเมนด้วยครับ ว่าใช้ขนาดเท่าไหรและจะเดินขนานไปตามแปลงที่แบ่งโซนๆไว้ หรือเดินแค่หัวแปลงแล้วต่อท่อแขนงเข้าแต่ละแถว

ขอบคุณมากๆครับ


มาบอกเพื่อเป็นแนวทางเฉยๆ นะครับ

-ที่ดินผมห่างจากหม้อแปลง single phase หรือ 1 เฟส 2 สาย ประมาณเกือบๆ 800 เมตร

-มีการใช้กระแสไฟค่อนข้าง Maximum load หรือเกือบๆ เต็มพิกัดครับ

-จึงทำให้แรงดันไฟฟ้าที่สวนผมค่อนข้างตก จนบ่อยครั้งที่เปิดดวงไฟ 40 วัตต์(จริงๆ 36 วัตต์หลอดผอม) ติดช้ามากช่วงตอนเย็น (ผมก็เลือกใช้แบบหลอดประหยัดหรือ LED แทนบางส่วน)

-ปั้มน้ำของผมเลือกใช้ขนาดต่ำสุด 1/2 แรงม้า ท่อเมน 1 นิ้ว อัตราการจ่ายน้ำ 100 ลิตร/นาที (WCH-375S ของมิตซูฯ เป็นปั้มของเดิมจากสวนเก่ายกมาใช้งาน ตอนนั้นพื้นที่และต้นไม้น้อยกว่านี้ครับ)

-จ่ายหัวมินิฯ 70 ลิตร/นาที จำนวน 100+ หัว (ในแปลงตอนนี้มีอยู่ประมาณ 100+ ต้นครับ แต่แรงดันมันเกินต้องหรี่ด้วยวาล์วทุกท่อย่อย จึงเหลือเอาไปปล่อยลงแทงค์บางส่วนครับ)

-ผมออกแบบให้ปั้มติดตั้งไว้ตำแหน่งกลางสวนแล้วเดินท่อเมนให้ใหญ่กว่าขนาดท่อของปั้มเป็น 2 นิ้ว {เผื่ออนาคตไว้ด้วยครับ กะว่าจะเปลี่ยนปั้มเป็น 1/2
แรงม้า 1.5 นิ้ว (WCM-375S) อัตราการจ่ายน้ำ 350 ลิตร/นาที //ต้นไม้น่าจะราวๆ 250+ ต้นครับ} แยกออกผ่าตรงกลางแปลงแล้วเดินท่อย่อยเป็น PE20mm.ยาวประมาณ 30-40 ม.
(ท่อเทนบางส่วนที่อยู่ส่วนปลายผมลดขนาดลงเป็น 1.5 นิ้วบางส่วน เพราะอัตราการใช้น้ำน้อยลงครับ)

-การใช้ไฟฟ้าก็เป็นมิเตอร์ 5(15)A (ไฟฟ้าฟรีครับ) เปิดให้น้ำทุกวันเช้าเย็นประมาณวันละ 20 นาที(เช้า 10นาที-เย็น 10 นาที) ด้วย Timer
หวังว่าคงจะพอเป็นแนวทางเพื่อเลือกปั้มได้บ้างนะครับ...



ถ้าไฟตก ลงไปน้อยกว่า160โวลท์ สเตบิไลเซอร์จะไม่ทำงานครับ
ที่ ที่ผมอยู่นี่ บางช่วงตกลงไปถึง140โวลท์เลย
วิธีแก้ของผมก็คือ เอาสเต็ปอัพ แปลงขึ้นมาให้ใกล้เคียง200โวลท์ก่อน
แล้วถึงจ่ายเข้า สเตบิไลเซอร์ เพื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์ที่จำเป็น

ถ้าจะถามว่า ทำไม่ไม่ใช้สเต็ปอัพ แปลงขึ้นมาให้ได้220โวลท์เลย
ปัญหาก็คือเวลาไฟเมนขยับสูงขึ้นมา ถ้าไม่มีใครคอยปรับสเต็ปอัพ ไฟก็จะเกินจนอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ครับ


refer: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=95974.0